วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

สาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์

การดำรงชีวิตของพืช  (ชั้นประถมศึกษาปีที่  4)


        พืชและสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิต จึงต้องการปัจจัยบางประการที่ใช้ในการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโต ปัจจัยในการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์แตกต่างกันหรือไม่ ศึกษาได้จากบทเรียนนี้  
1 ปัจจัยในการการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของพืช
             จากการทำการทดลอง ทำให้เราทราบว่า ปัจจัยที่ทำให้เมล็ดพืชงอกเป็นต้นพืชใหม่ได้ คือ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งได้แก่น้ำหรือความชื้น อุณหภูมิที่พอเหมาะ และอากาศ
             เมื่อนำเมล็ดไปเพาะ เราต้องให้ความชื้นแก่เมล็ด เช่น นำเมล็ดวางบนกระดาษชำระที่พรมน้ำ ซึ่งเปรียบได้กับความชื้นในดิน นอกจากนี้ต้องมีอุณหภูมิที่พอเหมาะ คือ ไม่ร้อนหรือไม่เย็นเกินไป จึงจะเป็นสภาวะที่เหมาะสมกับการงอกของเมล็ด
              เมื่อเมล็ดงอก ส่วนที่ยื่นออกมาจากเมล็ดเป็นอันดับแรก คือ รากหลังจากนั้นส่วนของลำต้นและใบจะงอกตามมา

สาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์

 ตัวประกอบของจำนวนนับ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6)

ตัวประกอบ หมายถึง จำนวนนับที่หารจำนวนนับที่เรากำหนดให้ได้ลงตัว เช่น a จะเป็นตัวประกอบของ b ก็ต่อเมื่อ b หารด้วย a ลงตัว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ a หาร b ลงตัว 

                 ตัวอย่าง 
                 30 หารด้วย 6 ลงตัว แสดงว่า 6 เป็นตัวประกอบของ 30 ในขณะที่ 30 หารด้วย 4 ไม่ลงตัว แสดงว่า 4 ไม่เป็นตัวประกอบของ 30 เป็นต้น

                 หรือ
                 จำนวนที่หาร 18 ลงตัวประกอบด้วย 1 , 2 , 3 , 6 , 9 , 18 แสดงว่า 1 , 2 , 3 , 6 , 9 , 18 เป็นตัวประกอบของ 18
                จำนวนเฉพาะ หมายถึง จำนวนที่มีตัวประกอบเพียง 2 ตัว คือ 1 กับตัวของมันเอง
                การหาตัวประกอบของจำนวนนับใด ๆ จะพบว่า บางจำนวนที่ตัวประกอบเพียง 1 ตัว บางจำนวนมีตัวประกอบ 2 ตัว ในขณะที่บางตัวมีตัวประกอบมากกว่า 2 ตัว
                1 มีตัวประกอบ 1 ตัว คือ 1
                6 มีตัวประกอบ 4 คือ 1 , 2 , 3 , 6 
                2 มีตัวประกอบ 2 คือ 1 , 2 หรืออีกนัยหนึ่งว่า 2 มีตัวประกอบ 2 คือ 1 กับ ตัวของมันเอง
                3 มีตัวประกอบ 2 คือ 1 , 3 หรืออีกนัยหนึ่งว่า 3 มีตัวประกอบ 2 คือ 1 กับ ตัวของมันเอง
                จากตัวอย่างด้านบน เราพบว่า 1 มีตัวประกอบ 1 ตัว 6 มีตัวประกอบ 4 ตัว ในขณะที่ 2 และ 3 มีตัวประกอบ 2 ตัว คือ 1 กับ ตัวของมันเอง เราเรียกจำนวนที่มีตัวประกอบเพียง 2 ตัวนี้ว่า จำนวนเฉพาะ 

                ตัวประกอบเฉพาะ ตัวประกอบของจำนวนนับใดที่เป็นจำนวนเฉพาะ
                การหาตัวประกอบเฉพาะของจำนวนนับใด ๆ นั้น เราจะต้องหาตัวประกอบทั้งหมดของจำนวนนับนั้น ๆก่อน จากนั้นจึงค่อยพิจารณา ตัวประกอบเหล่านั้นว่า มีจำนวนใดเป็นจำนวนเฉพาะบ้าง ซึ่งจำนวนเฉพาะเหล่านั้นเราเรียนกว่า ตัวประกอบเฉพาะ

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556


หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๓)
ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

๑. ชื่อหลักสูตร
    
๑.๑ ภาษาไทย    : หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการประถมศึกษา
    
๑.๒ ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Elementary Education
๒. ชื่อปริญญา
    
๒.๑ ภาษาไทย
         
ชื่อเต็ม : ศาสนศาสตรบัณฑิต (การประถมศึกษา)
         
ชื่อย่อ  : ศน.บ. (การประถมศึกษา)
    
๒.๒ ภาษาอังกฤษ
         
ชื่อเต็ม : Bachelor of Arts (Elementary Education)
         
ชื่อย่อ  : B.A. (Elementary Education)
๓. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
     
ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย