วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556


หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๔๓)
ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

๑. ชื่อหลักสูตร
    
๑.๑ ภาษาไทย    : หลักสูตรศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการประถมศึกษา
    
๑.๒ ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Elementary Education
๒. ชื่อปริญญา
    
๒.๑ ภาษาไทย
         
ชื่อเต็ม : ศาสนศาสตรบัณฑิต (การประถมศึกษา)
         
ชื่อย่อ  : ศน.บ. (การประถมศึกษา)
    
๒.๒ ภาษาอังกฤษ
         
ชื่อเต็ม : Bachelor of Arts (Elementary Education)
         
ชื่อย่อ  : B.A. (Elementary Education)
๓. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
     
ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย





๔. เหตุผลในการปรับปรุงหลักสูตร
     
ตลอดระยะเวลาที่ได้จัดการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย มีปรัชญาว่า "ความรู้คู่คุณธรรม"และปณิธานว่า "มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และเพรียบพร้อมด้วยคุณธรรม เพื่อเป็นบุคลากรที่มีศักยภาพในสังคม" ทั้งนี้คณะศึกษาศาสตร์มีหลักการผลิตบัณฑิตโดยถือว่าทรัพยากรมนุษย์เป็น ปัจจัย และเครื่องมือสำคัญยิ่งในการพัฒนาประเทศ สังคมใดก็ตามมีสมาชิกที่ไร้ความรู้และด้อยคุณภาพ การพัฒนาย่อมทำได้ช้า หรือทำไม่ได้เลย การมีทรัพยากรมนุษย์ที่ถึงพร้อมด้วยวิทยาการทันสมัยและอาจารย์ดี ย่อมเอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ส่งเสริมชาติให้มีความมั่นคง และทำให้สมาชิกของสังคมดำรงชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข
    
ด้วยเหตุผลดังกล่าวภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ จึงได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรศาสนศาสตร์บัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๔ สาขาวิชาเอกการประถมศึกษา โดยยึดหลักว่า
    
๑.  ให้โครงสร้างหลักสูตร และเนื้อหารายวิชาสอดคล้องต่อวิทยาการสมัยใหม่ มีความหลากหลายและสากลยิ่งขึ้น
    
๒.  ให้มีความสอดคล้องต่อความต้องการของสังคม ตามเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมตลอดถึงให้มีระบบการศึกษา ๓ รูปแบบคือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ "ให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริม และให้บริการวิชาการพระพุทธศาสนาแก่ภิกษุสามเณร และคฤหัสถ์ รวมทั้งการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม"

๕. วัตถุประสงค์
    
๕.๑ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ในเรื่องการประถมศึกษาและมีความสามารถในการปฏิบัติงานสนับสนุนและประสานงานโครงการ
    
๕.๒ เพื่อให้ผู้ศึกษาเป็นครูที่มีประสิทธิภาพในการเรียนการสอนระดับประถมศึกษา
    
๕.๓ เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษาในระดับสูงขึ้นไป
๖. หลักสูตร
    
๖.๑ จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๑๔๑ หน่วยกิต
    
๖.๒ โครงสร้างหลักสูตร
          
๖.๒.๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต
                 (
๑) กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร ๑๓ หน่วยกิต
                 (
๒) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ ๕ หน่วยกิต
                 (
๓) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ ๕ หน่วยกิต
                 (
๔) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ๕ หน่วยกิต
                 (
๕) กลุ่มสหศาสตร์ ๒ หน่วยกิต
          
๖.๒.๒ หมวดวิชาเฉพาะ ๑๐๕ หน่วยกิต
                 (
๑) กลุ่มวิชาศาสนา ๓๐ หน่วยกิต
                 (
๒) กลุ่มวิชาเอกการประถมศึกษา ๓๖ หน่วยกิต
                 (
๓) กลุ่มวิชาการศึกษา ๒๔ หน่วยกิต
                 (
๔)กลุ่มวิชาโท ๑๕ หน่วยกิต
          
๖.๒.๓ หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
     
๖.๓ โครงสร้างรายวิชา หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต ซึ่งเป็นวิชาเป็นวิชาพื้นฐาน จัดเหมือนกันทุกคณะ
          
๖.๓.๑ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต
                 (
๑) กลุ่มวิชาภาษาและสื่อสาร ๑๓ หน่วยกิต
                 (
๒) กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์  ๕ หน่วยกิต
                 (
๓) กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์  ๕ หน่วยกิต
                 (
๔) กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ๕ หน่วยกิต
                 (
๕) กลุ่มวิชาสหศาสตร์  ๒ หน่วยกิต
          
๖.๒.๒ หมวดวิชาเฉพาะ ๑๐๕ หน่วยกิต
                 (
๑) กลุ่มวิชาศาสนา  ๓๐ หน่วยกิต
                 (
๒) กลุ่มวิชาเอกการประถมศึกษา  ๓๖ หน่วยกิต
                 (
๓) กลุ่มวิชาการศึกษา  ๒๔ หน่วยกิต
                 (
๔) กลุ่มวิชาโท ๑๕ หน่วยกิต
          
๖.๒.๓ หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต
    
๖.๓ โครงสร้างรายวิชา หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ๓๐ หน่วยกิต และหมวดวิชาเฉพาะ กลุ่มวิชาศาสนา ๓๐ หน่วยกิต ซึ่งเป็นวิชาเป็นวิชาพื้นฐาน จัดเหมือนกันทุกคณะ
           (
๑) กลุ่มวิชาเอกการประถมศึกษา ๓๖ หน่วยกิต
               
บังคับ ๒๔ หน่วยกิต
๔๓๒๓๓๐๑   การศึกษาเด็ก   ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๖๐๒   จิตวิทยาและการแนะแนวเด็กประถม ๓ (๓-๐-๖)
๔๓๒๓๓๐๓   การประถมศึกษา   ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๓๑๙   กิจกรรมการศึกษาเพื่อท้องถิ่น  ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๓๐๔   การศึกษากับการพัฒนาชุมชน  ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๑๓๓๒๕   ห้องสมุดโรงเรียน   ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๑๓๓๒๙   หลักการนิเทศการศึกษา  ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๓๐๕   หลักสูตรและการจัดการประถมศึกษา ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๒๒๐   ทักษะและเทคนิคการสอนในระดับประถมศึกษา ๓ (๓-๐-๖)
๔๓๒๔๓๒๑   การสร้างสื่อและวิเคราะห์แบบเรียนชั้นประถมศึกษา ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๓๒๗   สัมมนาปัญหาการประถมศึกษา   ๒ (๒-๐-๔)
                 
เลือก ๑๒ หน่วยกิต
๔๓๒๓๔๐๖   การสอนวิชากลุ่มทักษะเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ๑ (ภาษาไทย) ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๕๐๗   การสอนวิชากลุ่มทักษะเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ ๒ (คณิตศาสตร์) ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๕๐๘   การสอนวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ๑  ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๓๒๓   การสอนวิชากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ๒  ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๓๐๙   การสอนวิชากลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัย   ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๓๒๔   การสอนวิชากลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพ   ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๔๒๕   การสอนวิชากลุ่มประสบการณ์พิเศษ (ภาษาอังกฤษ)  ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๒๑๐   การสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนประถมศึกษา  ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๓๑๑   การสอนซ่อมเสริมในโรงเรียนประถมศึกษา   ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๓๑๒   กิจกรรมเข้าจังหวะสำหรับครูประถม   ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๒๑๓   การสอนค่านิยม     ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๔๒๘   ภาษาไทยสำหรับครูประถม    ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๓๒๙   สังคมศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา   ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๕๓๐   คณิตสาสตร์สำหรับครูประถม    ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๖๑๔   พลานามัยในโรงเรียนประถม    ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๕๓๑   วิทยาศาสตร์สำหรับครูประถม    ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๔๑๕   ศิลปะสำหรับครูประถม    ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๓๑๖   คหกรรมศาสตร์ในโรงเรียนประถม   ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๓๓๒   เกษตรกรรมในโรงเรียนประถม    ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๓๓๓   การฝึกผู้นำและกิจกรรมเยาวชน    ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๕๓๔   ดนตรีสำหรับครูประถม    ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๔๑๗   เด็กกับวรรณกรรม     ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๓๓๕   การละครสำหรับครูประถม    ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๓๓๖   โภชนาการสำหรับครูประถม    ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๓๑๘   การสอนอ่าน     ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๔๓๑๖   หัตถกรรมท้องถิ่นสำหรับครูประถม   ๒ (๒-๐-๔)
         (
๒) กลุ่มวิชาการศึกษา ๒๔ หน่วยกิต
                
บังคับ ๑๙ หน่วยกิต
๔๒๑๓๓๐๖   หลักการศึกษา     ๒ (๒-๐-๔)
๔๒๑๓๓๐๘   หลักการสอน     ๒ (๒-๐-๔)
๔๒๑๓๖๐๙   จิตวิทยาสำหรับครู     ๒ (๒-๐-๔)
๔๒๑๔๒๑๔   คุณธรรมสำหรับครู     ๓ (๓-๐-๖)
๔๒๑๔๖๑๕   การประเมิณผลและการสร้างแบบทดสอบ   ๓ (๓-๐-๖)
๔๒๑๔๖๑๖   เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา   ๓ (๓-๐-๖)
๔๒๑๔๓๒๒  การฝึกสอน ๔ (๑๘๐ ชม./ภาค)
               
เลือก ๕ หน่วยกิต
๔๒๑๓๓๑๐   พื้นฐานการศึกษา     ๒ (๒-๐-๔)
๔๒๑๔๓๒๗   การทดลองสอนวิชาพระพุทธศาสนา (๑๕ ชม./ภาค)
๔๒๑๔๓๒๖   วิธีสอนวิชาเฉพาะ     ๓ (๓-๐-๖)
๔๓๒๓๓๐๓   การประถมศึกษา     ๓ (๓-๐-๖)
๔๒๑๔๓๑๗   การมัธยมศึกษา     ๓ (๓-๐-๖)
๔๒๑๔๓๑๘   การอาชีวศึกษา     ๓ (๓-๐-๖)
๔๔๑๓๓๐๖   การจัดการศึกษานอกระบบ    ๓ (๓-๐-๖)
๔๒๑๓๓๓๒   ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์    ๓ (๓-๐-๖)
๔๒๑๓๑๒๙   ปรัชญาการศึกษา     ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๑๓๓๒๖   โรงเรียนชุมชน     ๒ (๒-๐-๔)
๔๒๑๔๓๒๘   ระเบียบวิธีสอนทั่วไป     ๒ (๒-๐-๔)
๔๔๒๓๖๓๐   จิตวิทยาและการแนะแนวเด็กวัยรุ่น    ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๖๓๐   การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนชั้นประถมศึกษา  ๒ (๒-๐-๔)
๔๒๑๔๓๓๐   การสร้างสื่อและการวิเคราะห์แบบเรียนชั้นมัธยมศึกษา  ๒ (๒-๐-๔)
๔๒๑๓๓๑๑   การศึกษาของไทย     ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๑๓๓๐๓   การวางแผนการศึกษา     ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๑๓๓๐๕   กฏหมายการศึกษา     ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๑๓๓๐๑   หลักสูตรและการจัดการประถมศึกษา   ๒ (๒-๐-๔)
๔๒๑๓๓๓๑   หลักสูตรและการจัดการมัธยมศึกษา   ๒ (๒-๐-๔)
๔๒๑๓๓๐๘   การพัฒนาหลักสูตร     ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๑๔๓๑๔   การนิเทศการศึกษา     ๒ (๒-๐-๔)
๔๒๑๔๖๒๐   ระเบียบวิธีวิจัย     ๒ (๒-๐-๔)
๔๒๑๔๓๒๑   สัมมนาปัญหาทางการศึกษา    ๒ (๒-๐-๔)
๔๒๑๓๖๑๓   คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา    ๒ (๒-๐-๔)
          (
๓) ให้นักศึกษาเลือกเรียนกลุ่มวิชาโทไม่น้อยกว่า ๑๕ หน่วยกิต ที่เปิดสอนให้มหาวิทยาลัยโดยต้องไม่ซ้ำกับวิชาเอกที่เรียนมาแล้ว
         
๖.๓.๓ หมวดวิชาเลือกเสรี
                  
ให้นักศึกษาเลือกเรียนรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ไม่น้อย ๖ กว่าหน่วยกิต โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่ได้เรียนมาแล้ว ตามความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาและหัวหน้าภาคในรายวิชานั้น
                 
กลุ่มวิชาโทการประถมศึกษา นักศึกษาวิชาเอกอื่นที่เลือกการประถมการศึกษา เป็นวิชาโทให้เรียนกลุ่มโทการประถมศึกษา ไม่น้อยกว่า ๑๕ หน่วยกิต ดังนี้
                  
วิชาบังคับ ๑๐ หน่วยกิต
๔๓๒๓๓๐๑   การศึกษาเด็ก     ๒ (๒-๐-๔)
๔๓๒๓๖๐๒   จิตวิทยาและการแนะแนวเด็กประถม   ๓ (๓-๐-๖)
๔๓๒๔๓๒๐   ทักษะและเทคนิคการสอนในระดับประถมศึกษา  ๓ (๓-๐-๖)
๔๓๒๓๓๐๕   หลักสูตรและการจัดการประถมศึกษา   ๒ (๒-๐-๔)
                
เลือก ๕ หน่วยกิต
                
จากรายวิชาที่ยังไม่เคยลงทะเบียนเรียนมาก่อนในกลุ่มวิชาเอกการประกอบการศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น